วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556



ดอกไม้ คือโครงสร้างการขยายพันธุ์ของพืชดอก (พืชในส่วน Magnoliophyta หรือเรียกว่า angiosperm) การทำงานเชิงชีววิทยาของดอกไม้มักจะเป็นการขยายพันธุ์ด้วยกลไกแบบสเปิร์มกับไข่ การปฏิสนธิของดอกไม้สามารถเกิดได้ข้ามดอก (การรวมตัวของสเปิร์มและไข่ที่มาจากดอกอื่นหรือต้นอื่นในกลุ่มประชากร) หรือเกิดในตัวเองก็ได้ (การรวมตัวของสเปิร์มและไข่ในดอกเดียวกันนั้น) ดอกไม้บางชนิดผลิตส่วนแพร่พันธุ์ (diaspore) โดยไม่ต้องมีการปฏิสนธิ (การเกิดผลลม) ดอกไม้จะมีอับสปอร์ (sporangia) เป็นแหล่งสร้างแกมีโทไฟต์ ดอกไม้คือส่วนที่เกิดเป็นผลไม้และเมล็ดดอกไม้หลายชนิดวิวัฒนาการตัวเองเพื่อดึงดูดสัตว์เช่นแมลง เพื่อให้เป็นตัวช่วยส่งถ่ายละอองเรณู
นอกจากการเอื้ออำนวยต่อการขยายพันธุ์ของพืชดอก ดอกไม้ยังเป็นที่นิยมชมชอบและใช้เพื่อตกแต่งสภาพแวดล้อมในสังคมมนุษย์ และดอกไม้ก็เป็นตัวแทนแห่งความรักใคร่ ความเชื่อ ศาสนา สามารถใช้เป็นยารักษาโรคและแหล่งอาหารได้


เคล็ด(ไม่)ลับแจกันดอกไม้สด


          เชื่อไหมว่า? ดอกไม้เพียงดอกเดียวก็ช่วยให้บ้านของคุณดูสดชื่นขึ้นได้มากมาย การจัดตกแต่งบ้านด้วยแจกันดอกไม้หรือกระถางดอกไม้จึงไม่เคยเสื่อมความนิยม การจัดแต่งแจกันด้วยดอกไม้สดก็เช่นกัน  ให้ทั้งความสดชื่นและความสวยงาม  แต่การที่จะให้ดอกไม้ในแจกันอยู่กับเรานานๆนั้นจะมีวิธีการอย่างไรและจะทำอย่างไร ให้ดอกไม่ที่เราอุตส่าห์ซื้อหามาจัดแต่งๆไม่เหี่ยวเฉาเร็วจนเกินไป  เราจึงได้นำมีเคล็ดที่ไม่ลับของการจัดแจกันดอกไม้สดมาฝากกัน  มาฟังกันทางนี้เลยค่ะ
1.เลือกซื้อดอกไม้ ถ้าต้องการให้ดอกไม้สวยทนนาน ต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกซื้อดอกไม้ โดยควรเลือกดอกไม้ที่ยังไม่บานหรือกำลังจะบาน จะดีกว่าซื้อดอกที่บานอยู่ก่อนแล้ว นอกจากนี้ควรเช็คดูด้วยให้มีรอบช้ำหรือรอยหักน้อยที่สุด กิ่งก้านยังแข็งแรงดี และรอยตัดยังดูใหม่ ๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณได้ดอกไม้ที่ค่อนข้างสดและแข็งแรง
2.ริดหนาม ถ้าดอกไม้ที่ซื้อเป็นชนิดที่มีหนาม ให้ใช้กรรไกรหรือมีดคม ๆ ริดหนามออก โดยริดจากบนลงล่าง พยายามอย่าให้มีรอยฉีกที่ก้าน จะทำให้ดอกไม้เน่าเร็ว
3.เล็มใบ ใบเป็นตัวระบายน้ำออกจากดอกไม้ ก่อนจัดดอกไม้ลงแจกันจึงควรเล็มใบที่มีมากเกินไปออกเสียบ้าง โดยเล็มจากด้านปลายขึ้นมาเรื่อย ๆ เหลือด้านบนไว้เพื่อความสวยงาม (ถ้าด้านบนมีใบมากไปจนรก เวลาจัดแจกันก็สามารถเล็มออกได้อีก)
4.ตัดก้านในน้ำ ดอกไม้จะอยู่ได้นานขึ้นถ้าตัดกิ่งก้านในน้ำ และควรใช้มีดหรือกรรไกรที่คมเท่านั้น เพื่อป้องกันรอยฉีกขาดที่จะทำให้ดอกไม้ติดเชื้อและเน่าง่าย
5.ตัดแบบเฉียง การตัดก้านแบบเฉียงช่วยให้ดอกไม้มีพื้นที่ที่ใช้ในการดูดน้ำมากขึ้น
6.แช่น้ำอุ่น หลังตัดก้าน ให้นำปลายก้านที่เพิ่งตัดแช่ลงในน้ำอุ่น จะช่วยกระตุ้นให้การไหลเวียนของน้ำภายในก้านดีขึ้น
7.อาหารของดอกไม้ เตรียมแจกันที่จะใส่ดอกไม้ ใส่น้ำเย็น, น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ และสารฟอกขาว 2 หยอด ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที แล้วจึงนำดอกไม้มาจัดใส่

ดอกไม้ในวรรณคดี



       
ดอกไม้ในวรรณคดีไทย หมายถึงดอกไม้ที่บรรดากวีไทยท่านได้พรรณาไว้เป็นบทร้อยกรองอย่างไพเราะในหนังสือวรรณคดี เช่น รามเกียรติ์  อิเหนา เงาะป่า ดาหลัง 
ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี บทเห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์ห่อโคลงนิราศทองแดง นิราสหริภุญชัย นิราศพระประธม นิราศสุพรรณ
นิราศเมืองแกลง นิราศภูเขาทอง นิราศอิเหนา นิราศเจ้าฟ้าลิลิตพระลอ และลิลิตตะเลงพ่าย
        เป็นความสามารถเฉพาะตัวของกวีไทย ที่ได้พรรณาชื่อดอกไม้หลายชนิดไว้อย่างไพเราะ ทั้งลักษณะ สีสัน กลิ่น ทำให้ผ้อ่านเกิดมโนภาพ ประทับใจ เหมือนได้ไปอยู่
ณ ที่ด้วย  หวังว่าสิ่งที่เรียบเรียงมาคงจะเป็นประโยชน์และเกิดความประทับใจกับการพรรณาของกวีไทยบ้าง

ดอกกรรณิการ์



“…กรรณิการ์  ก้านสีแดงสด
คิดผ้าแสดติดขลิบนาง
เห็นเนื้อเรื่อโรงราง
ห่มสองบ่าอ่าโนเน่…”

วรรณคดี :  กาพย์ห่อโคลง  “นิราศธารโศก”
ผู้ประพันธ์ :  เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)
ชื่อพฤกษศาสตร์    :  Nyctanthes arbor – tristis
ชื่อสามัญ            :  Night Jasmine
ชื่อวงศ์               :  Verbenaceae

กรรณิการ์เป็นพุ่มไม้ขนาดเล็ก  สูงประมาณ ๑ - ๒ เมตร  ใบสากคาย  ขอบใบเป็นจักตื้น ๆ และใบออกทิศทางตรงข้ามกัน ดอกสีขาว  ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง  ลักษณะคล้ายดอกมะลิ  แต่มีขนาดกลีบแคบกว่า  ปลายกลีบมี ๒ แฉก  ขนาดไม่เท่ากัน  โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสีส้มสด  ดอกบานส่งกลิ่นหอมในเวลากลางคืน  และจะร่วงในเช้าวันรุ่งขึ้น ผลมีลักษณะกลมแบน  ขณะอ่อนมีสีเขียว  เมื่อแก่เป็นสีดำ การขยายพันธุ์ ใช้ตอนกิ่ง ทางด้านสมุนไพร  เปลือกให้น้ำฝาด  เปลือกชั้นในเมื่อผสมกับปูนขาวจะให้สีแดง  ดอกมีน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้  เช่นเดียวกับมะลิ  ส่วนของดอกที่เป็นหลอด  สกัดเป็นสีย้อมผ้าไหม  ใบใช้แก้ไข้และโรคปวดตามข้อ  น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาระบาย  และเป็นยาขมเจริญอาหาร 
บุนนาค

“….พิกุลบุนนาคมากมี
ตามทางหว่างวิถีสีขาวสด
ชมพลางทางเร่งรีบรถ
เลียบตามบรรพตคีรี…”

วรรณคดี : “อิเหนา”  ตอนท้าวปันจะรากันไปในพิธีอภิเษกสังคามาระตา
ผู้ประพันธ์ :  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ชื่อพฤกษศาสตร์  :  Mesua  ferrea, L.
ชื่อสามัญ          :  Indian  Rose  Dhestnut, Iron  Weed
ชื่อวงศ์             :  Guttiferae
ชื่ออื่น ๆ            :  นาคบุตร

บุนนาคเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่  ทรงพุ่มยอดแหลม  ออกดอกในฤดูหนาว  ใบเป็นใบเดี่ยว  ออกสลับทิศทางกัน  มีลักษณะเป็นกระจุกใหญ่ตรงกลาง  บางต้นกลีบดอกออกสีชมพูเรื่อ ๆ เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาด ๕ - ๗.๕ เซนติเมตร  หลังจากดอกโรยจะติดเมล็ด การขยายพันธุ์  นิยมใช้วิธีตอนกิ่ง  หรือเพาะเมล็ด คุณค่าทางสมุนไพร  ใช้เกสรผสมยาหอมบำรุงหัวใจ  แก้ร้อนในกระหายน้ำ  แก้วิงเวียนเป็นยาชูกำลัง ฯลฯผกากรอง
“…มะลิวัลย์พันระกำขึ้นแกมจาก
ได้สามวันกรรมพรากไปจากห้อง
จำปีเคียงโศกระย้า  ผกากรอง
พี่โศกเศร้าเฝ้าตรองกว่าสองปี…”

วรรณคดี :  “ขุนช้างขุนแผน”
ผู้ประพันธ์ :  สุนทรภู่
ชื่อพฤกษศาสตร์  :  Lantana  camara, L.
ชื่อสามัญ          :  Cloth  of Gold,  Hedge  Flower,  Weeding  Lantana
ชื่อวงศ์             :  Verbenaceae
ชื่ออื่น ๆ            :  ก้ามกุ้ง  เบญจมาศป่า  ขะจาย  ขี้กา  คำขี้ไก่  เบ็งละมาศ  ไม้จีน

ผกากรองเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ ๒ - ๖ ฟุต  ขึ้นได้ในดินทุกชนิด  ชอบแล้งมากกว่าแฉะ  ชอบแสงแดดจัด  นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อดูดอกเพราะผกากรองให้ดอกสวยและดกตลอดปี ใบเป็นรูปไข่  ริมใบหยักเป็นจัก  ใบคายสากมือ  มีกลิ่นเหม็น      ดอกมีขนาดเล็กออกเป็นกระจุก  ขนาดโตประมาณ ๑ - ๑.๕ นิ้ว  มีหลายสี  เช่น  เหลืองอ่อน  แดง  ขาว  ม่วง  ชมพู  เหลืองเข้ม การขยายพันธุ์  ใช้วิธีเพาะเมล็ด  หรือตัดกิ่งปักชำ สรรพคุณทางสมุนไพร  ใบตำพอกแผล  ฝีพุพอง  ใบต้มน้ำอุ่นอาบ  หรือแช่แก้โรคปวดข้อ


พิกุล

“…เสือมองย่องแอบต้นตาเสือ
ร่มหูกวางกวางเฝือฝูงกวางป่า
อ้อยช้างช้างน้าวเป็นราวมา
สาลิกาจับกิ่งพิกุลกิน…”

วรรณคดี : “ขุนช้างขุนแผน”
ผู้ประพันธ์ :  สุนทรภู่
ชื่อพฤกษศาสตร์  :  Mimusope  elengi, L.
ชื่อสามัญ          :  Bullet  Wood
ชื่อวงศ์             :  Sapotaceae

พิกุลเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง  กิ่งก้านค่อนข้างแจ้  แบน  คล้ายต้นหว้า  มีพุ่มใบแน่น  เหมาะสำหรับปลูกไว้บังแดดตอนบ่าย  ดอกมีกลิ่นหอม   ใบเป็นใบเดี่ยว  สีเขียวเข้ม  ปลายแหลมมน  มีขนาดใบกว้างประมาณ ๗ ซ.ม. ยาวประมาณ ๑๕ ซ.ม. เส้นกลางใบด้านท้องใบนูน  ก้านใบยาวประมาณ ๓ ซ.ม.    ดอกออกเป็นช่อ  เป็นกระจุก  ดอกมีขนาดเล็กกว้างประมาณ ๑ ซ.ม.  กลีบดอกเล็กแคบยาวเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มองดูริมดอกเป็นจักเล็ก    ผลกลมโตคล้ายละมุดสีดา  แต่เล็กกว่าเล็กน้อย  ผลสุกสีแดงแสด  ใช้รับประทานได้  รสฝาดหวานมัน การ      ขยายพันธุ์  ใช้เพาะเมล็ด หรือ ตอนกิ่ง ทางด้านสมุนไพร  เปลือกใช้ต้มเอาน้ำอมเป็นยากลั้วล้างปาก  แก้ปากเปื่อย  ปวดฟัน  ฟันโยกคลอน  เหงือกบวม  เป็นยาคุมธาตุ  ดอกแห้งใช้ป่นทำยานัตถุ์  แก้ไข้  ปวดศรีษะ  เจ็บคอ  แก้ปวดตามร่างกาย  แก้ร้อนใน  เมล็ดตำละเอียดปั้นเป็นยาเม็ดสวนทวารสุพรรณิการ์
“…เล็บนางงามแสล้ม
ต้นนางแย้มแกมดองดึง
สุพรรณิกากากระทึง
ดอกราชพฤกษ์ซึกไทรไตร…”

วรรณคดี : กาพย์ห่อโคลง “ นิราศธารทองแดง”
ผู้ประพันธ์ : เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์  “เจ้าฟ้ากุ้ง”
ชื่อพฤกษศาสตร์  :  Cochlospermum  religiosum
ชื่อสามัญ          :  Yellow  Slik-Cotton  Tree,  Butter-Cup  Tree
ชื่อวงศ์             :  Bixaceae

สุพรรณิการ์มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า  “ฝ้ายคำ”  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ ๓ -๗ เมตร  ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด  ชอบแสงแดดจัด  ออกดอกหลังจากใบร่วงหมดในราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ใบมีลักษณะมน  ขอบเว้าเป็น ๕ แฉก  กว้างประมาณ ๖ นิ้ว  ยาวประมาณ ๘ นิ้ว  ท้องใบมีขนอ่อน ดอกใหญ่มี ๕ กลีบ  สีเหลืองสด  กลีบดอกงุ้มเข้าหากันคล้ายถ้วย  ดอกมีขนาดกว้างประมาณ ๕ นิ้ว  กลางดอกมีเกสรตัวผู้มากมาย  เมื่อดอกโรยจะติดผล ผลมีลักษณะกลมรี  ภายในผลมีเมล็ดมีปุยคล้ายปุยฝ้าย การขยายพันธุ์  ใช้วิธีเพาะเมล็ด 

ประโยชน์ของดอกไม้


1.ช่วยเติมสีสันให้เเก่โลก ทำให้โลกสวยงาม

2.ดอกไม้บางชนิดนำมาเป็นอาหารได้เช่นดอกขจร ดอกเเค ดอกโสน เป็นต้น

3.นำมาประดับตกเเต่งบ้านได้

4.เป็นตัวกลางในการสือความหมายต่างๆเช่นบอกรัก เป็นกำลังใจ หวังดี เป็นต้น

5.ใช้ในพิธีต่างๆเช่น วันเเม่ วันพ่อ เป็นต้น

6.ใช้เพาะปลูกเพื่อค้าขายเป็นอาชีพได้

7.ส่งกลิ่นหอมเป็นผลดีต่อสุขภาพ

8. เป็นยารักษาโรคได้เช่นดอกกระดังงาไทย ดอกพิกุล ดอกมะลิ ดอกชุมเห็นเทศ ดอกขี้เหล็ก ดอกกระทือ ดอกยี่เข่ง ดอกผักปลัง ดอกบานเย็น ดอกสะเดา ดอกคำแสด ดอกปีป ดอกจำปี ดอกทองกวาว ดอกกุหลาบมอญ ดอกพะยอม ดอกกุ่ม ดอกมะรุม ดอกทับทิมเป็นต้น

9.เป็นอาหารของสัตว์ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในป่า

10.ทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างได้เช่น ดอกไม้อบเเห้ง พวงมาลัย น้ำหอม สีผสมอาหาร เป็นต้น

11.ช่วยเพิ่มออกซิเจนในอากาศให้มากขึ้น

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของดอกไม้


สมุนไพรสรรพคุณ และ ประโยชน์ของดอกไม้

      วันนี้เรามีสรรพคุณของดอกไม้และประโยชน์ของดอกไม้มาฝากกันด้วยนะจ๊ะ สำหรับ ของดอกไม้ สรรพคุณของดอกไม้ และ ประโยชน์ของดอกไม้ มีคุณค่ามากกว่าที่คุณคิดไว้ซะอีก และวันนี้เราก็ขอนำ สรรพคุณของดอกไม้ และ ประโยชน์ของดอกไม้ 4 ชนิดด้วยกันมาบอกเล่าถึงสรรพคุณของดอกไม้และประโยชน์ของดอกไม้ที่จะช่วยในเรื่องสุขภาพให้แก่คุณๆ ใครที่ยังไม่ค่อยจะรู้จักกับสรรพคุณของดอกไม้และประโยชน์ของดอกไม้กันเลยวันนี้ห้ามพลาดกับความรู้สำคัญเช่นนี้เลยนะค่ะเพราะว่าเราได้รวบรวมข้อมูลมาให้ทุกคนกันแล้วล่ะค่ะ

 สรรพคุณ และ ประโยชน์ของดอกไม้


สรรพคุณ / ประโยชน์ของดอกไม้


1. เมล็ดทานตะวัน

อุดมด้วยวิตามินอีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตทำให้แผลหายเร็ว ลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและเบาหวานมีกากใยช่วยในการย่อยอาหารลดระดับคอเลสเตอรอล มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่ายและบำรุงสมองด้วยสารทริปโตเฟนที่จะช่วยกระตุ้นการสร้างสารเชโรโทนินทำให้ความเครียดลดลงค่ะ

2. ชามะลิ
เชื่อมั้ยคะว่าชาชนิดนี้มีต้นกำเนิดย้อนไปถึง 700 ปี ณ ประเทศจีน มีสารต้านอนุมูลอิสระ Catechin ที่มีประโยชน์มากมายและช่วยลดโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหาร และโรคหลอดเลือดในสมองแตกลดอัตราชีพจร ความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลแถมกลิ่นชามะลิยังช่วยปลอบประโลมจิตใจและอารมณ์ได้

3. น้ำมันกุหลาบ
การศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒชี้ว่า กลิ่นจากน้ำมันกุหลาบทำให้จิตใจผ่อนคลายได้ นอกจากนี้ ยังดีต่อผิวสามารถทำความสะอาดรูขุมขนและลดริ้วรอยได้ ลองหยดน้ำมันลงในอ่างอาบน้ำเพื่อลดอาการอักเสบที่ผิวดูสิคะ แถมยังต้านโรคภัยและช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันอีก แต่ถ้าจะใช้รับประทานสตรีมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตรควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนนะคะ


4. รากบัว
เปี่ยมไปด้วยธาตุเหล็ก วิตามินบีและซี มีกากใยสูง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้และบรรเทาอาการท้องผูก นอกจากนี้การดื่มน้ำรากบัววันละ 2-3 แก้วจะช่วยยับยั้งเลือดจากแผลในระบบทางเดินอาหารหรือเลือดกำเดาไหลได้ค่ะ

การเพาะพันธุ์

ก. วัสดุเพาะ

ในต่างประเทศนิยมใช้พีตและเวอร์มิคิวไลต์ ส่วนในประเทศไทยมักจะเพาะในดิน แต่มักเกิดปัญหาต้นกล้าเป็นโรค เนื่องจากมีเชื้อโรคตกค้างอยู่ในดิน จึงควรเพาะในวัสดุที่สะอาด ปราศจากเชื้อโรค อีกทั้งไม่เป็นกรดเป็นด่างจัด มีการระบายน้ำ และถ่ายเทอากาศดี ในขณะเดียวกันก็กักเก็บความชื้นได้ดีด้วย ซึ่งจะหาวัสดุที่มีคุณสมบัติดังกล่าวครบถ้วนได้ยากมาก จากการทดลอง พบว่า ทรายก่อสร้างที่ร่อนเอากรวดหินออกแล้ว ผสมกับขุยมะพร้าวที่ได้จากเส้นใยของกาบมะพร้าวที่ใช้ประโยชน์แล้ว ในอัตราส่วน ๑ : ๑ และ ๑ : ๒ จะเหมาะสำหรับเมล็ดไม้ดอกทั่วๆ ไปที่มีขนาดไม่เล็กนัก หรือเมล็ดที่มีขนาดใหญ่ หากเป็นเมล็ดที่มีขนาดเล็กมาก ดังเช่น เมล็ดบีโกเนีย และพิทูเนีย ควรเพาะในใบก้ามปูหมักที่ร่อนแล้ว ผสมกับทรายในอัตราส่วน ๒ : ๑ แทน

ข. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเพาะ

ควรเพาะในตะกร้าพลาสติกขนาด ๓๐ x ๔๕ เซนติเมตรโดยประมาณ จะสะดวก และปลอดภัยกว่าเพาะลงบนพื้นดินโดยตรง ทั้งนี้เพราะสะดวกในการเตรียมวัสดุและเตรียมการเพาะ อีกทั้งทำการเพาะได้ประณีตกว่า ดูแลได้ทั่วถึง การป้องกันมดแมลง ตลอดจนศัตรูอื่น เช่น จิ้งหรีด ทำได้ง่ายกว่า สามารถควบคุมความชื้นและอุณหภูมิ ตลอดจนแสงได้ตามความเหมาะสม เพราะสามารถย้ายตะกร้าไปมาได้ เมื่อเมล็ดงอกแล้ว สามารถย้ายไปไว้ในที่ที่เหมาะสมได้ง่าย และยังหนีภัยธรรมชาติได้ด้วย แม้จะทำงานขนาดใหญ่เพียงใดก็ตาม เช่น ต้องการเตรียมต้นกล้าเป็นหมื่นเป็นแสนต้น ก็สามารถทำได้ทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะตะกร้าขนาด ๓๐ x ๔๕ เซนติเมตร สามารถเพาะเมล็ดได้ถึง ๕๐๐ - ๒,๐๐๐ เมล็ด ถ้าเมล็ดมีอัตราการงอกร้อยละ ๘๐ จะใช้ตะกร้า ในการเพาะเมล็ดจำนวน ๑๓๐,๐๐๐ เมล็ด เพื่อให้ได้จำนวนต้น ๑๐๐,๐๐๐ ต้น เพียง ๕๐ - ๒๕๐ ตะกร้าเท่านั้น หากวางตะกร้าบนกระเบื้องแผ่นเรียบขนาด ๑.๒๐ x ๒.๔๐ ตารางเมตร จะใช้กระเบื้องเพียง ๒ - ๑๒ แผ่น ทั้งนี้เพราะกระเบื้อง ๑ แผ่น รองรับตะกร้าได้ถึง ๒๔ ใบ

ค. วิธีการเพาะ

ให้กรุตะกร้าพลาสติกด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ ทั้งที่ก้นและด้านข้างของตะกร้า แล้วบรรจุวัสดุเพาะที่มีความชื้นพอเหมาะไม่ถึงกับแฉะ ลงไปในตะกร้าอย่างหลวมๆ ให้สูงจากก้นตะกร้าประมาณ ๘ เซนติเมตร เกลี่ยผิวหน้าวัสดุให้เรียบเสมอกันโดยตลอด แล้วใช้สันไม้ หนาประมาณ ๑-๒ เซนติเมตร กดลงบนวัสดุเพาะเบาๆ เพื่อทำร่องสำหรับหยอดเมล็ด แต่ละร่องห่างกันประมาณ ๒ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๑-๒ เซนติเมตร ถ้าทำร่องตามทางยาวของตะกร้าจะได้ประมาณ ๑๑ - ๑๒ แถวต่อ ๑ ตะกร้า

การหยอดเมล็ดลงในร่องนั้น หากยังไม่ชำนาญควรฝึกทำก่อน โดยใช้ทรายละเอียดแทนเมล็ดจริง ซึ่งแต่ละคนอาจมีวิธีการทำไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ควรหยอดให้แต่ละเมล็ดกระจายอย่างสม่ำเสมอในแต่ละร่อง กลบร่องด้วยวัสดุเพาะให้เต็ม แล้วใช้แท่งไม้หน้าเรียบลักษณะคล้ายแปลงลบกระดาน ตบบนผิววัสดุเพาะเบาๆ เพื่อให้วัสดุเพาะกระชับกับเมล็ด และทำให้ผิวหน้าวัสดุเรียบ ตัดกระดาษหนังสือพิมพ์ให้พอดีกับตะกร้า ปิดทับลงบนผิวหน้าวัสดุ ให้มิดพอดีๆ รดน้ำให้ชุ่มด้วยบัวรดน้ำชนิดฝอย คะเนให้น้ำซึมลงไปในวัสดุเพาะมากพอ แล้วนำกระบะเพาะไปเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัย จากสัตว์เลี้ยงและแมลงศัตรูพืช อาจวางบนร้าน หรือยกพื้นกลางแดด หลังจากนั้นรดน้ำเช้า - บ่าย วันละ ๒ เวลา เมล็ดส่วนใหญ่จะงอกภายใน ๓ - ๕ วัน ดังนั้นก่อนรดน้ำในตอนเช้าของวันที่ ๔ และ ๕ ควรตรวจสอบความงอก โดยการเปิดกระดาษออกดู ถ้าเมล็ดงอกในปริมาณที่มากพอใกล้เคียงกับอัตราการงอกที่กำหนดไว้ ต้องเปิดกระดาษออกทันที ถ้าวางกระบะเพาะไว้ภายในอาคาร ควรจัดให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดในช่วงเช้า และงดน้ำ ๑ - ๒ วัน เป็นการบังคับให้รากหยั่งลึกลงไปหาน้ำในระดับล่างของวัสดุเพาะ ทำให้รากของต้นกล้าเจริญเติบโตดี มีปริมาณรากมาก และแข็งแรงด้วย แต่ถ้าเป็นการเพาะเมล็ดในที่โล่งแจ้งกลางแดดอยู่แล้ว เมื่อเมล็ดงอกและเปิดกระดาษออกแล้ว ต้นกล้าจะได้รับแสงแดดเต็มที่โดยไม่แสดงอาการเหี่ยวเฉา หากต้นกล้าแสดงอาการเหี่ยว ไม่ควรงดน้ำ

วิธีการเพาะเมล็ดดังที่กล่าวมานี้ อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดหากได้ลงมือปฏิบัติ และประสบปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งการแก้ปัญหาของแต่ละบุคคลย่อมไม่เหมือนกัน ดังนั้น วิธีการเพาะที่ดีและเหมาะสมย่อมแตกต่างกันได้ ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ การเพาะเมล็ดโดยการทำร่องเป็นแถวๆ แทนการหว่านเมล็ดไปทั่วทั้งตะกร้า จะเป็นการแก้ปัญหาการเน่าของต้นกล้าได้

การเพาะเมล็ดเป็นแถวจะให้ผลดีกว่าการหว่านเมล็ดด้วยประการทั้งปวง โดยเฉพาะลดความเสียหาย เนื่องจากโรคโคนเน่าของต้นกล้า ทั้งนี้เพราะมีการถ่ายเทอากาศได้ดีกว่า และถ้าเกิดโรคเน่าขึ้น โอกาสที่จะลุกลามติดต่อกันเองเกิดได้ช้าลง ที่สำคัญคือ สะดวกในการย้ายต้นกล้าออกปลูก โดยสามารถย้ายทีละแถว โดยไม่ทำให้รากของต้นกล้าแถวข้างเคียงกระทบกระเทือน อีกทั้งถ้าไม่สามารถย้ายเสร็จทั้งตะกร้าภายในวันเดียวได้ ก็ไม่ทำให้ต้นกล้าที่เหลือเสียหาย

สรุปได้ว่า การเพาะเมล็ดไม้ดอกจะประสบผลสำเร็จเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัย ๓ ประการคือ

๑. เมล็ดดี

เมล็ดที่นำมาเพาะจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
  • ยังมีชีวิตอยู่
  • ผ่านพ้นระยะพักตัวแล้ว
  • มีความสมบูรณ์ ไม่ลีบ ไม่มีเมล็ดอื่นปะปน
  • มีความงอกสม่ำเสมอ อัตราการงอกสูง
  • รงตามพันธุ์
  • งอกได้เร็ว และเจริญเติบโตดี
  • ปราศจากโรคและแมลง
๒. วัสดุเพาะดี

มีคุณสมบัติดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องของวัสดุเพาะ

๓. สภาพแวดล้อมดี

คือ มีความชื้น อุณหภูมิ แสง และอากาศเหมาะสม

๔. วิธีการดี 

ได้กล่าวถึงวิธีการเพาะเมล็ดอย่างละเอียดไว้แล้ว แต่อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดก็ได้ หากลงมือปฏิบัติเอง อาจพบเห็นปัญหามากมายแตกต่างได้อีก โดยวิธีการแก้ปัญหาของแต่ละบุคคลย่อมจะแตกต่างกัน ดังนั้น วิธีการที่ดีและเหมาะสมจึงแตกต่างกันไปด้วย

ง. ปัญหาที่มักเกิดขึ้นในการเพาะเมล็ดไม้ดอก

มีดังนี้

๑. เมล็ดงอกน้อย

ทั้งที่เมล็ดมีคุณภาพดี และมีอัตราการงอกสูง สาเหตุอาจเนื่องมาจากวัสดุเพาะมีความชื้นไม่เพียงพอ และไม่สม่ำเสมอทั่วกัน โดยเฉพาะในช่วงวันแรกๆ ที่เริ่มเพาะ จึงแนะนำให้รดน้ำจนชุ่ม โดยรด ๒ - ๓ ครั้งในวันแรกที่เพาะ เพื่อให้วัสดุเพาะมีความชุ่มชื้นเพียงพอที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีภายในเมล็ด และทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวลง จนต้นอ่อนสามารถงอกออกมาได้ หรืออาจเป็นเพราะเมล็ดเหล่านั้นสูญสิ้นความงอก หรือตายไปแล้วก่อนนำมาเพาะ ซึ่งอาจเกิดจากการเก็บรักษาเมล็ดก่อนการเพาะไว้ในที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น วางเมล็ดไว้ในรถยนต์ที่ปิดกระจก ในระหว่างไปรับประทานอาหารกลางวันเพียง ๑ - ๒ ชั่วโมง ความร้อนภายในรถยนต์อาจสูงพอที่จะฆ่าเมล็ดเหล่านั้นได้ จึงควรตระหนักในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ไว้ด้วย

๒. ต้นกล้ายืด

เนื่องจากต้นกล้าได้รับแสงไม่เพียงพอ เพราะเปิดกระดาษออกช้าหรือสถานที่เพาะเมล็ดได้รับแสงน้อยไป

๓. ต้นกล้าเน่า

สามารถป้องกันได้โดยการเปิดกระดาษออกทันทีหลังจากต้นกล้างอก ให้ได้รับแสงเพียงพอ ต้นกล้าจะไม่ยืด จนล้มในขณะได้รับการรดน้ำ และไม่ควรรดน้ำบ่อยครั้งเกินความจำเป็น เพราะจะทำให้ต้นกล้าบอบช้ำ ซึ่งง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรค ควรทิ้งช่วงให้วัสดุเพาะแห้งบ้างพอหมาดๆ แต่อย่าปล่อยให้แห้งจัด จนเกิดรอยแตกแยกของวัสดุเพาะ

๔. ต้นกล้าไม่แกร่ง 

ทำให้เกิดปัญหาการตายของต้นกล้าหลังจากย้ายปลูก เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น ต้นกล้าได้รับแสงน้อยเกินไป รดน้ำมากไป หรือมีการเร่งปุ๋ยไนโตรเจนเกินความจำเป็น ก่อนการย้ายกล้า ๒ - ๓ วัน ควรรดด้วยน้ำผสมปุ๋ยโพแทสเซียมอย่างเจือจาง จะช่วยให้ต้นกล้าแกร่งขึ้น หรืองดน้ำล่วงหน้าการย้าย ๑ วัน หรือฉีดพ่นด้วยสารชะลอการเจริญเติบโตก่อนการย้ายกล้า ๔ - ๕ วัน จะทำให้ต้นกล้าทนการขาดน้ำ และทนแล้งยิ่งขึ้น ที่สำคัญคือ ไม่ทำให้ต้นกล้ายืด

ชนิดและพันธุ์ไม้ดอกประดับแปลง

     การปลูกไม้ดอกประดับแปลงเพื่อให้เกิดความสวยงามนั้น จำเป็นต้องปลูกเป็นกลุ่ม ในแปลงขนาดไม่เล็กนัก ใช้ต้นจำนวนมาก ไม้ดอกที่จะนำมาปลูกจึงต้องมีคุณสมบัติสำคัญบางประการคือ ขยายพันธุ์ได้ง่าย โดยเฉพาะการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด อีกทั้งปลูกง่าย เลี้ยงง่าย ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากนัก โตเร็ว ทรงพุ่มกว้าง กะทัดรัด ไม่สูงเก้งก้างจนเกะกะ ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ออกดอกดก และดอกบานใกล้เคียงกันทีละหลายๆ ดอก เช่น ดาวเรือง ดาวกระจาย เดือนฉาย ดอกไม้ไหว แพงพวย พิทูเนีย บีโกเนีย สร้อยทอง อิมเพเชียน หงอนไก่ และบานชื่น ยังมีไม้ดอกอีกหลายๆ ชนิด ที่ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำยอด ใบ และกิ่งได้ง่าย แม้จะได้จำนวนต้นน้อยกว่าการเพาะเมล็ด แต่ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย มีอายุการใช้งานนาน ได้แก่ ผกากรองเลื้อย เวอร์บีนา แพรเซี่ยงไฮ้ บานเย็น บานเช้า พยับหมอก กุหลาบหิน และกระดุมทอง

ไม้ดอกที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการปลูกประดับแปลงมีมากมายหลายชนิด ดังจะนำมากล่าวเป็นตัวอย่าง ดังนี้

๑) ดาวเรือง (Marigold)

ดาวเรืองที่นิยมนำมาปลูกประดับมี ๒ พันธุ์ คือ
  • ดาวเรืองอเมริกัน หรือดาวเรืองแอฟริกัน (African marigold) เป็นดาวเรืองดอกใหญ่ ความสูงของต้นตั้งแต่ ๑๕ - ๗๕ เซนติเมตร มี ๓ สี คือ สีเหลือง สีทอง และสีส้ม เหมาะสำหรับปลูกประดับแปลง ทั้งในลักษณะที่ปลูกเลี้ยงในแปลงโดยตรง หรือปลูกเลี้ยงในกระถาง แล้วนำไปตกแต่ง โดยการฝังกระถางลงในแปลง หรือใส่ไว้ในภาชนะที่เตรียมไว้ ณ สถานที่ที่ต้องการใช้ประดับ ดังที่กรุงเทพมหานครปฏิบัติ ในงานพระราชพิธีต่างๆ แต่ควรใช้พันธุ์ดอกสีเหลืองหรือสีทอง ไม่ควรใช้สีส้ม เพราะสีส้ม เมื่อรวมกลุ่มกันแล้ว สีจะไม่สดใส ส่วนสีเหลืองหรือสีทองจะดูสดใสสวยงามกว่า โดยเฉพาะเมื่อวางเป็นกลุ่มใหญ่ ควรเลือกพันธุ์ที่มีต้นขนาดปานกลาง ไม่สูงมากจนดูเก้งก้างและต้นล้มเอนลงเมื่อถูกแรงลม หากมีความจำเป็นต้องใช้พันธุ์ต้นสูง ควรพ่นด้วยสารชะลอการเจริญเติบโต เพื่อให้ข้อปล้องสั้น และพุ่มต้นกะทัดรัด ส่วนพันธุ์ที่มีต้นเตี้ยเกินไปก็ไม่เหมาะสม เพราะไม่ได้สัดส่วนกับความกว้างของถนน และความโอ่โถงของสถานที่ที่จะนำไปประดับ แต่เหมาะที่จะปลูกลงแปลง เพื่อตกแต่งในที่ ซึ่งต้องการประดับมากกว่า
  • ดาวเรืองฝรั่งเศส (French marigold) เป็นดาวเรืองดอกเล็ก ต้นเตี้ย ปลูกได้เฉพาะในฤดูหนาวเท่านั้น เพราะเป็นพันธุ์ที่ไวแสง กล่าวคือ ต้องการช่วงแสงในเวลากลางวันสั้นสำหรับการพัฒนาตาดอก แต่จะออกดอกดกมาก จนแทบจะมองไม่เห็นใบหากปลูกในฤดูหนาว ส่วนในฤดูอื่นจะออกดอกเพียง ๔ - ๕ ดอก และเฝือใบ ดอกมี ๓ สี คือ สีเหลือง สีส้ม และสีแดง มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ความสูงตั้งแต่ ๑๕ - ๔๐  เซนติเมตร
๒) ดาวกระจาย  (Cosmos)

ที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ  มี  ๒  พันธุ์คือ
  • ดาวกระจายสีเหลือง (Cosmos sulphureus) ดาวกระจายประเภทนี้พบเห็นอยู่ทั่วไปในธรรมชาติทุกจังหวัดของประเทศไทย เป็นไม้ดอกล้มลุก ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย ไม่ต้องดูแลรักษามากนัก แต่มีเฉพาะดอกสีเหลืองและสีส้มเท่านั้น มีทั้งดอกชั้นเดียว และดอกซ้อน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ออกดอกดก มีทั้งต้นเตี้ยและต้นสูง ที่สังเกตได้ชัดคือ ใบมีลักษณะคล้ายใบของต้นเบญจมาศ
  • ดาวกระจายสีอื่น (Cosmos bipinnatus) ดาวกระจายประเภทนี้มีสีขาว สีชมพู สีม่วง สีบานเย็น และสีแดง ไม่มีสีเหลือง ใบมีลักษณะคล้ายผักชีลาว ดอกมีขนาดใหญ่ชั้นเดียว เส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ - ๗ เซนติเมตร ความสูงของต้นตั้งแต่ ๕๐ เซนติเมตรขึ้นไป แต่สามารถทำให้เตี้ยลงด้วยการพ่นสารชะลอการเจริญเติบโตตั้งแต่ต้นยังเล็กๆ ปัจจุบัน มีพันธุ์ใหม่ที่น่าสนใจอีกหลายพันธุ์ ซึ่งพันธุ์ดังกล่าวมีสีสันของดอก ตลอดจนดอก และกลีบดอกแปลกใหม่ไปจากพันธุ์เดิม เป็นการพัฒนาพันธุ์ไปในทางที่ดีขึ้นทั้งสิ้น
๓) ดอกไม้ไหว (Coreopsis)

ชนิดที่ปลูกประดับในปัจจุบันมี ๒ สี คือ สีเหลืองและสีแดง แต่มักปลูกปะปนกันไป ดอกดกมาก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอก ๒ เซนติเมตร ก้านดอกที่ยาวจะโยกไหวตามแรงลมตลอดเวลา ดูมีชีวิตชีวา ติดเมล็ดได้ง่าย และสามารถเก็บเมล็ดไว้ขยายพันธุ์ในรุ่นต่อๆ ไปได้อีก

๔) เดือนฉาย (Gaillardia)

เป็นไม้ดอกที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี มีอายุการออกดอกค่อนข้างยาว พันธุ์ที่ออกมาใหม่ๆ มีดอกสีแดงเข้มขอบเหลือง และดอกสีเหลืองทอง พุ่มต้นสูงเพียง ๓๐ เซนติเมตร

๕) แพงพวย (Vinca)

เป็นไม้ดอกที่ทนแล้งมาก และไม่ชอบที่ชื้นแฉะ หากรดน้ำมากเกินไปจะทำให้ต้นเน่าตาย พันธุ์ดั้งเดิมมีต้นสูงใหญ่ ออกดอกประปราย ดูไม่เด่นสะดุดตา พันธุ์ใหม่ในปัจจุบันต้นเตี้ยลงเหลือเพียง ๑๕ เซนติเมตร และถ้าปลูกไปนานๆ จะค่อยๆ สูงขึ้นอย่างช้าๆ อยู่ได้นานหลายปี ที่สำคัญคือ มีดอกดก และขนาดดอกใหญ่ขึ้น มีหลายสีสวยงามไม่แพ้อิมเพเชียน แต่ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย ไม่ต้องดูแลมากนัก จึงเหมาะที่จะปลูกประดับในที่ซึ่งดูแลไม่ทั่วถึง

ในสถานที่ที่มีปัญหา และไม่ต้องการให้มีหญ้าขึ้นรก อาจนำแพงพวยเลื้อยลงปลูกแทน แพงพวยเลื้อยจะสามารถเลื้อยคลุมดินได้ดี แต่ละต้นสามารถเลื้อยแผ่ไปได้ไกลถึง ๖๐ เซนติเมตร พันธุ์ที่มีจำหน่ายมีทั้งสีขาว สีชมพู และคละสี

๖) พิทูเนีย (Petunia)

เมล็ดมีขนาดค่อนข้างเล็กมาก แต่ไม่มีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่นที่สะดวกและได้จำนวนต้นมากเท่าวิธีเพาะเมล็ด จึงนิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ปัจจุบันมีเมล็ดพิทูเนียในรูปแบบใหม่ ทำให้สะดวกในการเพาะ หลังจากได้ต้นกล้าแล้ว การปลูกและดูแลรักษาอื่นๆ ทำได้ง่ายมาก เมื่อออกดอกและดอกบานเต็มแปลงจะสวยงามมาก มีหลายสี หลายพันธุ์ และหลายประเภท แต่ประเภทที่ควรนำมาปลูกเป็นไม้ประดับแปลงในประเทศไทยควรเป็นพิทูเนียประเภทดอกใหญ่ชั้นเดียว ที่เรียกว่า Single grandiflora แม้ว่าเมล็ดจะมีราคาค่อนข้างแพง แต่ก็คุ้มค่า ดอกมีสีครบทุกสี ทั้งสีอ่อนและสีแก่ เจริญเติบโตได้ดีมาก เหมาะสำหรับการปลูกประดับ แต่ถ้าไม่ชอบดอกขนาดใหญ่ ควรเลือกประเภท Single multiflora ซึ่งมีดอกดกมาก และเมล็ดมีราคาย่อมเยากว่า

๗) ฟล็อกซ์ (Phlox)

ฟล็อกซ์มีดอก ๒ แบบ คือ แบบกลีบดอกมน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร และแบบกลีบดอกจักเป็นฟันเลื่อย ซึ่งมีดอกเล็กกว่าแบบกลีบดอกมน มีดอกดกทั้ง ๒ แบบ แต่ที่นิยมปลูกประดับแปลงเพราะดูแปลกตาดี ได้แก่ กลีบดอกจัก ซึ่งจำหน่ายเมล็ดคละสีอยู่ในซองเดียวกัน หากปลูกในฤดูหนาว ดอกจะดกกว่า และสวยกว่าปลูกในฤดูอื่น

๘) สร้อยไก่ (Celosia plumosa)

พันธุ์ดั้งเดิมมีเฉพาะสีเหลือง จึงมีชื่อเดิมว่า สร้อยทอง แต่ปัจจุบันมีเพิ่มขึ้นอีกหลายสี คือ สีชมพู สีแดง สีบานเย็น และสีส้ม ตลอดจนสีครีม และสีแดงอมม่วง มีทั้งช่อดอกป้อมสั้น และยาวรี ที่สำคัญคือ พุ่มต้นไม่สูงมาก และออกดอกดก

๙) หงอนไก่ (Celosia cristata)

มีพันธุ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ทั้งต้นสูงและต้นเตี้ย โดยเฉพาะพันธุ์ที่มีสีสดใสกว่าพันธุ์เดิม คือ สีเหลือง สีชมพู และสีแดงสด หากปลูกรวมกันในแปลงเป็นกลุ่มใหญ่จะสวยงามมาก

๑๐) แพนซี (Pansy)

ปกติเป็นไม้ดอกที่ต้องการแสงแดดจัด แต่ในประเทศไทยมีอากาศค่อนข้างร้อน แม้ในฤดูหนาว อากาศก็ไม่เย็นพอ ดังนั้น การปลูกแพนซีให้มีดอกสวยงามควรปลูกใต้เงาไม้ หรือร่มเงาโขดหิน หรือให้ได้รับแสงแดดรำไร หรือแสงแดดในช่วงเช้า แพนซีมีรูปร่างและสีสันของดอก ตลอดจนลวดลายภายในดอกแปลกไปจากไม้ดอกอื่นๆ แต่ละดอกประกอบด้วยหลายสี ถ้าปลูกคละสีในแปลงเดียวกันจะมองเห็นเหมือนหน้าแมวที่ชูหน้าสลอนรับแสงแดดยามเช้า เป็นไม้ดอกที่มีพุ่มต้นเตี้ย แต่ก้านดอกจะส่งดอกโผล่พ้นต้นขึ้นมา และหันหน้ารับแสงอาทิตย์เกือบทุกดอก เมล็ดลูกผสมชั่วแรก (F1 hybrid) มีราคาค่อนข้างแพง แต่ดอกมีขนาดใหญ่ และดอกดก หรืออาจจะเลือกปลูกเมล็ดผสมชั่วที่ ๒ (F2 hybrid) แทนก็ได้ ซึ่งเมล็ดมีราคาย่อมเยากว่า แต่ดอกสวยพอๆ กัน

๑๑) กาเซเนีย (Gazania)

เป็นไม้ดอกอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะมีพุ่มต้นเตี้ย ออกดอกดก มีหลายสี หากนำมาปลูกคละสีในแปลงเดียวกันจะดูสวยงามมากกว่าแยกสีทำนองเดียวกับแพนซี พันธุ์ที่ผลิตออกมาใหม่ในปัจจุบันมีพุ่มต้นสูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร และมีพันธุ์ที่ออกมาใหม่ล่าสุดสูงเพียง ๒๐ เซนติเมตร แต่ดอกดกมาก

๑๒) รักแรก (Dahlia)

รักแรกที่นำมาปลูกประดับแปลงควรเป็นประเภทต้นเตี้ยหรือสูงปานกลาง และดอกไม่ใหญ่มากนัก ไม่ควรมีสีเข้มหรือมืดจนเกินไป อาจปลูกคละสีได้ โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่มีการแยกจำหน่ายเมล็ดแบบแยกสี พันธุ์ที่น่าสนใจคือ พันธุ์ชนิดดอกซ้อน แต่ถ้าเป็นดอกกึ่งซ้อน พุ่มต้นกะทัดรัด ดอกมีหลายสีตั้งแต่สีขาว สีชมพู สีม่วง สีส้ม สีแดง และสีอ่อนแก่ต่างๆ กัน นอกจากใช้ปลูกประดับแปลงแล้ว บางพันธุ์ที่มีดอกขนาดปานกลาง กลีบดอกมีการจัดเรียงเป็นไปอย่างมีระเบียบ และก้านดอกแข็งแรง ก็สามารถปลูกเป็นไม้ตัดดอกได้

๑๓) ผีเสื้อ (Dianthus หรือ Pink)

เป็นไม้ดอกที่ต้องการอากาศค่อนข้างเย็นสักเล็กน้อย แต่ถ้าปลูกในฤดูหนาวก็ไม่มีปัญหา ส่วนใหญ่มีกลีบดอกชั้นเดียว พุ่มต้นสูงเพียง ๑๕ - ๓๐ เซนติเมตร พันธุ์ที่น่าสนใจที่สุดซึ่งเป็นพันธุ์ที่ออกมาใหม่คือ พันธุ์ชุดคาร์เพ็ต (Carpet series) ส่วนพันธุ์ชุดชาร์ม (Charm series) นั้น ยังได้รับความนิยมเช่นเคย เพราะมีสีที่หลากหลายมากกว่าพันธุ์ชุดคาร์เพ็ต พันธุ์ที่ออกใหม่ล่าสุดมีต้นเตี้ยที่สุด คือ สูงเพียง ๑๐ เซนติเมตร พุ่มต้นกะทัดรัด มีเพียง ๒ สี คือ สีชมพู และสีแดง ออกดอกเร็วมาก ใช้เวลาเพียง ๕๐ วัน เรียกว่า พันธุ์อินสแตนต์มิกซ์เจอร์ (Instant mixture)

๑๔) ผักเสี้ยนฝรั่ง (Cleome)

เป็นไม้ดอกที่มีความสูงมาก แต่มีช่อดอกใหญ่หลายสี หากปลูกประดับแปลงในพื้นที่กว้าง หรือปลูกเป็นฉากหลังจะสวยงามมาก โดยเฉพาะปลูกคละสี เพราะสีของผักเสี้ยนฝรั่งดูหวานทุกสี พันธุ์ที่ออกใหม่ได้แก่ พันธุ์ชุดควีน (Queen series) มีสีขาว สีชมพูอ่อน สีชมพูแก่ สีม่วงอ่อน สีม่วงแก่ และสีม่วงอมฟ้า น่าดูมาก

๑๕) ยาสูบดอก (Nicotiana)

มีเมล็ดจำหน่ายอยู่เพียง ๒ ชุด คือ ชุดโดมิโน (Domino series) และชุดนิกกิ (Nicki series) ซึ่งมีครบทุกสี คือ สีขาว สีชมพู สีแดง และสีเหลือง แต่ชุดโดมิโนมีพุ่มต้นสูงประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ส่วนชุดนิกกิสูงประมาณ ๔๕ เซนติเมตร

๑๖) บานชื่น (Zinnia)

เป็นไม้ดอกที่ต้องเพาะ หรือหยอดเมล็ดลงในกระถาง หรือในแปลงปลูกโดยตรง เพราะถ้ามีการย้ายกล้า รากได้รับความกระทบกระเทือน จะชะงักการเจริญเติบโต มีหลายพันธุ์ทั้งต้นสูงและต้นเตี้ย แต่พันธุ์ที่เหมาะสำหรับการปลูกประดับแปลง หรือปลูกลงกระถาง แล้วนำไปประดับไม่ควรสูงเกิน ๓๐ เซนติเมตร การจัดเรียงของกลีบดอกควรมีระเบียบพอสมควร กลีบดอกที่แผ่ออก ดูเรียบร้อยสวยงามกว่ากลีบดอกเป็นหลอด มีหลายสีคือ สีขาว สีครีม สีชมพู สีเหลือง สีส้ม สีแดง พันธุ์ในชุดพีเทอร์แพน (Peter Pan series) และชุดแดชเชอร์ (Dasher series) ซึ่งเป็นลูกผสมชั่วแรก ราคาเมล็ดค่อนข้างแพง แต่ดอกสวย ขนาดดอกใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖ - ๘ เซนติเมตร เหมาะที่จะปลูกมากที่สุด

๑๗) ดาห์ลเบิร์กเดซี (Dahlberg daisy)

พันธุ์ที่เหมาะสมที่สุดคือ พันธุ์โกลเดนฟลีซ (Golden fleece) มีพุ่มต้นสูง ๒๐ เซนติเมตร ดอกดกมาก หากปลูกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ จะสวยกว่าปลูกแยกต้น ดอกสีเหลืองทองจะทำให้ดูสวยงามมาก นอกจากปลูกประดับแปลงแล้ว ยังเหมาะที่จะปลูกเป็นไม้กระถาง นำไปจัดสวน และประดับสถานที่

นอกจากนี้  ยังมีไม้ดอกอีกหลายๆ ชนิดที่เหมาะสมในการปลูกประดับแปลง แต่ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำจากยอด หรือกิ่ง หรือใบได้ง่าย และสะดวกกว่าการเพาะเมล็ด ได้แก่ เวอร์บีนา ผกากรองต้น ผกากรองเลื้อย บานบุรี ฟ้าประดิษฐ์ กระดุมทองบานเย็น บานเช้า พยับหมอก พวงทองต้น สร้อยทอง บีโกเนีย แววมยุรา กุหลาบหิน กุหลาบหนู แพรเซี่ยงไฮ้ และไม้ดอกอื่นๆ อีกหลายชนิด

การจำแนกพรรณไม้

  ๑.การจำแนกตามลักษณะของพรรณไม้

แบ่งออกเป็น ไม้ดอกที่เป็นไม้ล้มลุก ไม้ดอกที่เป็นไม้พุ่ม ไม้ดอกที่เป็นไม้เถาหรือไม้เลื้อย ไม้ดอกที่เป็นไม้ต้นหรือไม้ใหญ่ยืนต้น
๑) ไม้ดอกที่เป็นไม้ล้มลุก (Flowering herb)

หมายถึง ไม้ดอกประเภทที่มีวงจรชีวิตสั้น ส่วนใหญ่เมื่อเกิดมาแล้ว จะเจริญเติบโตให้ดอก จนครบวงจรชีวิต แล้วตายภายในฤดูเดียวหรือปีเดียว จัดเป็นไม้ดอกฤดูเดียว เป็นไม้ดอกที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับมากที่สุด เพราะปลูกและตกแต่งได้ง่าย มีการเจริญเติบโตเร็ว นอกจากไม้ดอกล้มลุกที่มีอายุปีเดียวแล้ว มีไม้ดอกล้มลุกบางชนิด ที่มีอายุมากกว่า ๑ ปี ซึ่งจัดเป็นไม้ดอกล้มลุกสองฤดู หรือไม้ดอกล้มลุกหลายฤดู

ไม้ดอกล้มลุกที่เป็นไม้ดอกฤดูเดียวจะมีอายุสั้นมาก นับจากวันที่เริ่มเพาะเมล็ด จนถึงออกดอกใช้เวลาเพียง ๖๐ - ๑๒๐ วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ดอก จากนั้น จะออกดอกสวยงามอยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง คือ ประมาณ ๓๐ - ๖๐ วัน แล้วก็เริ่มเหี่ยว ร่วงโรยไป โดยมีเมล็ดเกิดขึ้นภายในดอก ซึ่งเมื่อเมล็ดแก่จัด ก็สามารถนำไปปลูกให้เป็นไม้ดอกรุ่นใหม่ได้

ส่วนไม้ดอกที่มีอายุอยู่ได้นานหลายปี เช่น เวอร์บีนา แพรเซี่ยงไฮ้ ผกากรอง สร้อยทอง พยับหมอก บานเช้า บานบุรี กระดุมทอง แพงพวย ไม่จำเป็นต้องปลูกต้นใหม่ทดแทน เพียงแต่ตัดแต่งกิ่งที่แห้งเหี่ยว กิ่งแก่ และกิ่งที่เป็นโรคออก พร้อมทั้งตัดแต่งต้นให้สั้นลง ตลอดจนปรับปรุงดิน ใส่ปุ๋ยเพิ่มเติม เพื่อให้ต้นเก่าแตกกิ่งก้าน และออกดอกชุดใหม่ที่สวยงามต่อไป การตัดแต่งกิ่งแต่งต้นนี้จะกระทำต่อเนื่องไป จนกว่าต้นจะทรุดโทรม และแก่ตายไปในที่สุด

๒) ไม้ดอกที่เป็นไม้พุ่ม (Flowering shrub)

หมายถึง ไม้ดอกที่มีเนื้อไม้แข็ง ลำต้นตั้งตรงเป็นอิสระได้โดยไม่ต้องอาศัยต้นไม้หรือวัสดุอื่น ยึดเหนี่ยวพาดพิง มีอายุอยู่ได้นานหลายปี มีความสูงไม่มากนัก และมีการแตกกิ่งก้าน ไม่สูงจากพื้นดิน เช่น เข็ม พุดลำโพง คริสต์มาส ชบา ชวนชม ดอนญ่า พยับหมอก ราชาวดี และยี่เข่ง
๓) ไม้ดอกที่เป็นไม้เถา หรือไม้เลื้อย (Flowering climber)

หมายถึง ไม้ดอกที่ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ด้วยตนเอง จำเป็นต้องอาศัยยึดเหนี่ยวพาดพิงต้นไม้หรือวัสดุอื่น ในการทรงตัว หากไม่มีสิ่งใดให้พาดพิง ก็จะเลื้อยไปตามพื้นดิน เช่น เล็บมือนาง กระเทียมเถา ชำมะนาด อัญชัน กุมาริกา ถ้ามีอายุอยู่ได้หลายปี เราเรียกไม้ดอกดังกล่าวนี้ว่า ไม้เถายืนต้น แต่ถ้าเป็นไม้เถาที่มีอายุสั้น มีลักษณะล้มลุก เช่น รกฟ้า ผักบุ้งฝรั่ง เรียกว่า ไม้เถาล้มลุก
๔) ไม้ดอกที่เป็นไม้ต้นหรือไม้ใหญ่ยืนต้น (Flowering tree)

หมายถึง ไม้ดอกที่มีเนื้อไม้แข็ง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นใหญ่กว่าไม้พุ่ม และมีความสูงเกิน ๖ เมตร สามารถทรงตัวอยู่ได้ด้วยตนเอง มีอายุอยู่ได้นานปี เช่น เสลา ตะแบก อินทนิล นนทรี พิกุล ฝ้ายคำ ทองกวาว จามจุรี ประดู่ ประดู่แดง ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ แคแสด รัตมา แคฝรั่ง โสกอินเดีย ปีบ เหลืองอินเดีย และหางนกยูงฝรั่ง

๒. การจำแนกตามประโยชน์ใช้สอย

เนื่องจากไม้ดอกมีอยู่มากมายหลายพันชนิด แต่ละชนิดมีประโยชน์ใช้สอยต่างกัน เพื่อความสะดวก และความคุ้มค่าในการนำไปตกแต่ง จึงมีการจำแนกประเภทไม้ดอกตามประโยชน์ใช้สอยดังนี้

๑) ไม้ตัดดอก (Cut flower plant)

หมายถึง ไม้ดอกที่ปลูก ณ สถานที่ที่มีภูมิประเทศ ภูมิอากาศ สภาพแวดล้อม เช่น สายลม แสงแดด อุณหภูมิ ดิน น้ำ ความชื้นสัมพัทธ์ การคมนาคม และระยะทางที่เหมาะสม เพื่อตัดเฉพาะส่วนดอกหรือช่อดอก ไปใช้ประโยชน์ หรือจำหน่าย เช่น แกลดิโอลัส เบญจมาศ เยอร์บีรา หน้าวัว กุหลาบ ดาวเรือง คาร์เนชัน และบัวหลวง ไม้ดอกดังกล่าวนี้ จะถูกตัดออกจากต้นไปใช้ประโยชน์พร้อมทั้งก้านดอกด้วย ทั้งนี้เพราะก้านดอกเป็นแหล่งสะสมอาหาร เมื่อดอกถูกตัดจากต้นเพื่อนำไปปักแจกัน หรือจัดกระเช้า อาหารที่เก็บสะสมไว้ที่ก้านดอกจะถูกนำมาใช้ ช่วยให้ดอกไม้มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ดังนั้นคุณลักษณะสำคัญของไม้ตัดดอก นอกจากดอกจะต้องสวยสดแล้ว ก้านดอกก็ต้องใหญ่ ยาว และแข็งแรง แต่ไม่เกะกะเก้งก้าง บรรจุหีบห่อได้ง่าย ขนส่งสะดวก มีน้ำหนักไม่มากนัก และเก็บรักษาได้นาน

ยังมีไม้ดอกอีกหลายชนิดที่มีก้านดอกสั้น ก้านดอกกลวงและเปราะหักง่าย แต่ดอกสวย หรือมีกลิ่นหอม อายุการใช้งานทนนาน สามารถใช้ประโยชน์ได้ดีในวิถีชีวิตของคนไทย โดยการนำเฉพาะส่วนดอกไปร้อยมาลัย ทำอุบะ จัดพานพุ่ม หรือนำไปจัดแจกัน โดยใช้ก้านเทียมแทน เช่น รัก มะลิ พุด จำปี จำปา แวนดาโจคิม บานไม่รู้โรย


๒) ไม้ดอกกระถาง (Flowering pot plant)

หมายถึง ไม้ดอกที่ปลูกเลี้ยงในกระถางตั้งแต่เริ่มเพาะเมล็ดหรือย้ายต้นกล้า โดยการเปลี่ยนกระถาง ให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นลำดับ ให้เหมาะสมกับความสูงและการเจริญเติบโตของต้น เมื่อออกดอก จะนำไปใช้ประโยชน์ในการประดับทั้งต้นทั้งดอก พร้อมทั้งกระถาง ทำให้อายุการใช้งานทนนานกว่าไม้ตัดดอก เช่น บีโกเนีย แพนซี แอฟริกันไวโอเลต กล็อกซิเนีย อิมเพเชียน พิทูเนีย

ไม้ดอกที่นำมาปลูกเป็นไม้กระถางจึงต้องมีทรงพุ่มต้นกะทัดรัด ไม่เกะกะเก้งก้าง หรือมีต้นสูงใหญ่ เกินกว่าที่จะนำมาปลูกเลี้ยงได้ในกระถางขนาดเล็กพอประมาณ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการขนย้าย ที่สำคัญคือ ควรจะออกดอกบานพร้อมเพรียงกันเกือบทั้งต้น เพื่อความสวยงามในการใช้ประดับ ปัจจุบัน วิทยาการเจริญก้าวหน้าอย่างมาก มนุษย์สามารถปลูกเลี้ยงไม้ดอกหลายๆ ชนิด แม้จะมีขนาดต้นสูงใหญ่ ในกระถางขนาดเล็ก โดยการใช้สารเคมีที่เรียกว่า สารชะลอการเจริญเติบโต ราดหรือพ่น เพื่อทำให้ไม้ดอกเหล่านั้น มีขนาดต้นเตี้ยลงตามความต้องการ ตลอดจนใช้เทคนิคบางประการในระหว่างการปลูกเลี้ยง เพื่อบังคับให้ไม้ดอกออกดอกพร้อมเพรียงกันทั้งต้นได้ โดยคงจำนวน ขนาด และสี ตลอดจนความสวยงามของดอก ให้ใกล้เคียงกับของเดิมทุกประการ


๓) ไม้ดอกประดับแปลง (Bedding plant)

หมายถึง ไม้ดอกที่ปลูกลงแปลง ณ บริเวณที่ต้องการปลูกตกแต่ง เพื่อประดับบ้านเรือน อาคารสถานที่ ตลอดจนสวนสาธารณะ โดยไม่ตัดดอกหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปใช้ประโยชน์ แต่ปล่อยให้ออกดอกบานสะพรั่งสวยงาม ติดอยู่กับต้นภายในแปลงปลูก เพื่อประโยชน์ในการประดับ จนกว่าจะร่วงโรยไป

ประเภทของดอกไม้


ประเภทของดอกไม้

จำแนกตามส่วนประกอบของดอก

  • ดอกสมบูรณ์ (Complete flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกครบทั้ง 4 ส่วนในดอกเดียวกัน เช่น ชบา พู่ระหง กุหลาบ มะเขือ
  • ดอกไม่สมบูรณ์ (Incomplete flower) คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกไม่ครบทั้ง 4 ส่วน เช่น ดอกหน้าวัว (ขาดกลีบเลี้ยงและกลีบดอก) ดอกบานเย็น (ขาดกลีบดอก)

จำแนกตามลักษณะของเพศ

  • ดอกสมบูรณ์เพศ คือดอกที่มีทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียในดอกเดียวกัน เช่น ดอกตำลึง พู่ระหง และกุหลาบ
  • ดอกไม่สมบูรณ์เพศ คือในดอกจะมีเพียงเกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดอกที่มีแต่เกสรตัวผู้เรียก ดอกตัวผู้ ดอกที่มีแต่เกสรตัวเมียเรียก ดอกตัวเมีย ดอกที่ไม่มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมียเรียก ดอกเป็นกลางหรือดอกเป็นหมัน และหากในพืชต้นหนึ่งๆ มีดอกสมบูรณ์เพศหรือมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียในต้นเดียวกัน แม้จะคนละดอกหรือต่างช่อดอก เรียกพืชต้นนั้นว่า พืชกระเทย เช่น ข้าวโพด ดอกตัวผู้และตัวเมียแยกต่างช่อดอก มะพร้าว ดอกตัวผู้และตัวเมียต่างดอกในช่อเดียวกัน ตำลึง ฟักทอง ดอกตัวผู้และตัวเมียแยกดอกกัน ส่วนพืชที่มีดอกเพียงเพศเดียวทั้งต้น เรียกพืชเพศแยก เช่น อินทผาลัม มะเดื่อ ตาล พืชบางชนิดมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกไม่สมบูรณ์เพศอยู่บนต้นเดียวกัน เช่น มะละกอ เงาะ และทานตะวัน

จำแนกตามจำนวนดอก

  • ดอกเดี่ยว เป็นดอกที่เกิดขึ้นบนก้านดอก เป็นดอกเดียวโดดๆ ในแต่ละข้อของกิ่งหรือลำต้น เช่น ชบา จำปี การะเวก
  • ดอกช่อ เป็นดอกที่เกิดเป็นกลุ่มอยู่บนก้านดอกใหญ่เดียวกัน และประกอบด้วยก้านดอกย่อยๆ หลายดอก ลักษณะการติดของดอกทำให้เกิดช่อดอกแบบต่างๆ กัน แบ่งเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการบานของดอก คือ
ดอกช่อแบบอินดีเทอร์มิเนต (Indeterminate inflorescence) เป็นดอกช่อที่ดอกย่อยที่อยู่ล่างสุดหรือริมนอกสุดจะบานและแก่ก่อนดอกอื่นที่อยู่ถัดเข้าไปข้างในหรืออยู่เหนือขึ้นไปข้างบน ดอกย่อยอาจมีหรือไม่มีก้านดอกย่อยก็ได้ ถ้ามีก้านดอกย่อยโดยส่วนใหญ่ก้านที่อยู่ล่างสุดจะยาวที่สุด
ช่อกระจุกแน่น head
ช่อกระจุกแน่น head
ช่อดอกที่มีดอกย่อยอัดกันแน่นบนฐานรองดอกรูปจานที่แผ่กว้างออก ตรงกลางนูนเล็กน้อย เช่น ทานตะวัน ดาวเรือง บานไม่รู้โรย
ช่อแบบหางกระรอก catkin
ช่อแบบหางกระรอก catkin
ช่อดอกที่มีลักษณะคล้ายดอกเชิงลด ช่อดอกมีแกนกลางยาว ดอกย่อยไม่มีก้านดอกย่อย ต่างกันตรงที่ปลายช่อห้อยลง เช่น หางกระรอกแดง
ช่อเชิงลดมีกาบ spadix
ช่อเชิงลดมีกาบ spadix
ช่อดอกแบบเชิงลดที่มีดอกแยกเพศติดอยู่บนแกนกลาง ไม่มีก้านดอกย่อย มีริ้วประดับแผ่นใหญ่เป็นกาบหุ้ม เช่น หน้าวัว บอน
ช่อเชิงลด spike
ช่อเชิงลด spike
ช่อดอกที่มีแกนกลางยาว ดอกย่อยทุกดอกไม่มีก้านดอกย่อย เช่น กระถินณรงค์
ช่อกระจะ raceme
ช่อกระจะ raceme
ช่อดอกที่ดอกย่อยมีก้านดอกแยกจากแกนกลาง ก้านดอกย่อยแต่ละดอกจะมีความยาวใกล้เคียงกัน เช่น หางนกยูง กล้วยไม้
ช่อแขนง panicle
ช่อแขนง panicle
ช่อดอกที่แตกแขนงจากแกนกลางก่อนที่จะมีดอกย่อยที่มีก้านดอก
ช่อซี่ร่ม umbel
ช่อซี่ร่ม umbel
ช่อที่มีก้านดอกย่อยทั้งหมดยาวเท่ากัน และออกมาจากจุดเดียวกันทำให้เห็นดอกมีลักษณะคล้ายซี่ร่ม เช่น พลับพลึง
ช่อซี่ร่มเชิงประกอบ compound umbel
ช่อซี่ร่มเชิงประกอบ compound umbel
เป็นช่อแบบซี่ร่มที่แยกออกจากแกนหลักเป็นครั้งที่ 2 แล้วจึงมีดอก
ช่อซี่ร่มแยกแขนง branched umbel
ช่อซี่ร่มแยกแขนง branched umbel
ช่อดอกที่มีช่อย่อยแบบช่อแขนงแต่ละช่อประกอบกันแบบซี่ร่ม
ช่อซี่ร่มคล้ายช่อเชิงลด spicate umbel
ช่อซี่ร่มคล้ายช่อเชิงลด spicate umbel
ช่อดอกที่มีช่อย่อยแบบช่อเชิงลดแต่ละช่อประกอบกันเป็นแบบซี่ร่ม
ช่อซี่ร่มคล้ายช่อกระจะ racemiform umbel
ช่อซี่ร่มคล้ายช่อกระจะ racemiform umbel
ช่อดอกที่มีช่อย่อยแบบช่อกระแจแต่ละช่อประกอบกันเป็นแบบซี่ร่ม
 
ช่อเชิงหลั่น simple corymb
ช่อเชิงหลั่น simple corymb
ช่อดอกที่ดอกย่อยอยู่ในระนาบเดียวกันก้านดอกยาวไม่เท่ากัน ก้านดอกย่อยของดอกล่างสุดจะยาวที่สุด ก้านดอกย่อยที่ถัดขึ้นไปจะสั้นลงตามลำดับ เช่น ดอกขี้เหล็ก
ช่อเชิงหลั่นเชิงประกอบ compound corymb
ช่อเชิงหลั่นเชิงประกอบ compound corymb
เป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นที่แยกออกจากก้านเป็นครั้งที่ 2 จึงมีดอก
 
ดอกช่อแบบดีเทอร์มิเนต (Determinate inflorescence) เป็นดอกช่อที่ดอกย่อยที่อยู่ในสุดหรือบนสุดจะบานและแก่ก่อนดอกที่อยู่วงนอนหรือดอกที่อยู่ถัดลงมาข้างล่าง นอกจากนี้ช่อดอกบางชนิดมีลักษณะผสมผสานระหว่างดีเทอร์มิเนต และ อินดีเทอร์มิเนต ในช่อเดียวกัน เรียกว่า Thysus
ช่อกระจุก simple cyme
ช่อกระจุก simple cyme
เป็นดอกช่อที่มี 3 ดอกย่อย ก้านดอกย่อยแตกออกทางด้านข้างของแกนกลางที่จุดเดียวกัน เช่น มะลิ ต้อยติ่ง
ช่อกระจุกเชิงประกอบ compound cyme
ช่อกระจุกเชิงประกอบ compound cyme
เป็นช่อแบบช่อกระจุกที่มีก้านแยกออกจากแกนหลักเป็นครั้งที่ 2 แล้วจึงมีดอก เช่น เข็ม โคมญี่ปุ่น
ช่อคดกริช scorpioid
ช่อคดกริช scorpioid
มีดอกย่อยทั้งสองข้างแตกออกตรงซอกใบ และดอกที่แตกออกอยู่ในระดับเดียวกัน เช่น หญ้าหนวดแมว
ช่อบิดเกลียว helicoid
ช่อบิดเกลียว helicoid
เป็นดอกที่มีก้านดอกข้างๆ แตกออกไปข้างเดียวตลอด ทำให้ก้านดอกโค้งงอ เช่น ดอกหญ้างวงช้าง
ช่อกระจุกแยกแขนง thysus
ช่อกระจุกแยกแขนง thysus
ช่อดอกที่มีช่อย่อยแบบช่อแขนงแต่ละช่อประกอบกันแบบช่อกระจุก เช่น ดอกองุ่น
 

จำแนกตามลักษณะสมมาตรของดอก

  • ดอกสมมาตรแบบรัศมี คือดอกที่ส่วนประกอบของดอกเรียงตัวอย่างสม่ำเสมอ กลีบเลี้ยงหรือกลีบดอกขนาดเท่าๆ กัน สามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนเท่ากันโดยผ่าได้หลายแนวตามแนวรัศมีของดอก เช่น จำปี บัว ชบา
  • ดอกสมมาตรครึ่งซีก คือดอกที่มีส่วนประกอบของดอกมีขนาดไม่เท่ากัน การจัดระเบียบของดอกไม่เป็นรัศมี ถ้าผ่าเป็นสองซีกให้เหมือนกันจะสามารถผ่าได้เพียงแนวเดียวเท่านั้น เช่น ดอกกล้วยไม้ ชงโค อัญชัน

ทายนิสัย กับ ดอกไม้ประจำวันเกิด


…..เชื่อเหลือเกินว่าน้อยคนที่จะทราบว่า ดอกไม้ประจำวันเกิด ของตัวเองคือ ดอกไม้ชนิดไหน เพราะโดยส่วนมากจะทราบกันแต่ ต้นไม้ประจำวันเกิด และแต่ละวันก็แตกต่างกันไปด้วยความแตกต่างจึงทำให้บุคลิกของภาพของคุณไม่เหมือนกันซึ่งเป็นไปแต่ความหมายของดอกไม้
ดอกกุหลาบสีส้ม
…..เกิดวันอาทิตย์ ดอกไม้ประจำวันเกิดเป็น ดอกกุหลาบสีส้ม จะถูกโฉลกกับเธอที่เกิดวันอาทิตย์ผู้มีนิสัยทะเยอทะยานและกระตือรือร้น เธอและดอกไม้มีความหมายถึงความฝันอันยิ่งใหญ่ ดอกไม้อีกชนิดสำหรับผู้เกิดวันนี้คือ ดอกทานตะวัน อันเป็นสัญลักษณ์คู่กับพระอาทิตย์เสมอ บอกถึงตัวเธอที่เชื่อมั่น หัวสูง ถือตัว และหยิ่งในศักดิ์ศรีด้วย
ดอกมะลิสีขาว
…..เกิดวันจันทร์ ดอกไม้ประจำวันเกิดคือ ดอกมะลิขาวสะอาด หมายถึงตัวเธอที่มีความนุ่มนวลอ่อนโยน เรียบร้อย ส่วนดอกไม้อีกชนิดคือ ดอกกุหลาบขาว หมายถึง ความรัก ที่อ่อนโยนและไม่ต้องการสิ่งใดตอบแทน เพราะคนเกิดวันจันทร์มักอ่อนไหวง่าย โรแมนติกและช่างฝัน
ดอกกล้วยไม้ สีชมพู
…..เกิดวันอังคาร ดอกไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ดอกกล้วยไม้ โดยเฉพาะที่ออกดอกสีชมพู เพราะมีความหมายถึงความรักที่ร้อนรุ่ม หวือหวา วูบวาบตามอารมณ์ของคนที่เกิดวันนี้
ดอกบัว
…..เกิดวันพุธ ดอกบัว หมายถึงจิตใจอันสงบ เพราะคนที่เกิดวันพุธมักชอบเป็นนักการทูตและรักสันติภาพ ดอกไม้ประจำวันเกิด คือดอกบัว ซึ่งคนที่เกิดวันพุธมักจะเป็นนักคำนวณ (เงิน) สีเหลืองอร่ามราวกับทองของดอกไม้ชนิดนี้หมายถึงรักของเธอต้องมาพร้อมเงิน
ดอกกุหลาบสีเหลือง
…..เกิดวันพฤหัสบดี ดอกไม้ประจำวันเกิดของเธอคือ ดอกกุหลาบสีเหลือง หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในเรื่องความรัก รักซ้อนซ่อนใจ เพราะคนที่เกิดวันนี้เป็นคนรักง่ายหน่ายเร็ว เจ้าชู้เล็ก ๆ ดอกไม้อีกชนิดหนึ่งคือ ดอกคาร์เนชั่นสีชมพู หมายถึงรักของเธอที่อ่อนโยนและอ่อนหวาน เธอที่เกิดวันนี้ จริง ๆ แล้วเป็นคนสุภาพอ่อนโยนและมีอารมณ์ขัน น่ารักเหมือนดอกไม้ของเธอนั่นแหละ
ดอกกุหลาบหลายสี
…..เกิดวันศุกร์ ดอกไม้เหมาะสำหรับเธอคือ กุหลาบทุกสี เพราะคนที่เกิดวันศุกร์มักเป็นนักรักที่ยิ่งใหญ่ มีเสน่ห์ล้นเหลือ หรือจะเป็นดอกไม้เจ้าเสน่ห์ที่มีความหมายหวานแหววแบบ ดอกไวโอแลต ว่า”ฉันรักเธอแล้ว หากรักฉันก็บอกกันบ้างนะ” คนที่เกิดวันศุกร์บางอารมณ์ก็โลเล จึงได้ ดอกลาเวนเดอร์ที่มีความหมายถึงรักที่สับสน ไม่แน่นอนไปครองอีกดอกหนึ่ง
ดอกลิลลี่
…..เกิดวันเสาร์ ดอกไม้ประจำวันเกิดคือ ดอกลิลลี่ อันหมายถึงรักครั้งแรก รักที่บริสุทธิ์ เพราะคนที่เกิดวันเสาร์เป็นคนจริงจังและซีเรียส จึงรักใครยากหน่อย ทว่าดอกลิลลี่เป็นดอกที่กระทบใจคนขี้เหงาวันเสาร์ได้ดีทีเดียว