วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ดอกไม้ในวรรณคดี



       
ดอกไม้ในวรรณคดีไทย หมายถึงดอกไม้ที่บรรดากวีไทยท่านได้พรรณาไว้เป็นบทร้อยกรองอย่างไพเราะในหนังสือวรรณคดี เช่น รามเกียรติ์  อิเหนา เงาะป่า ดาหลัง 
ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี บทเห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก กาพย์ห่อโคลงนิราศทองแดง นิราสหริภุญชัย นิราศพระประธม นิราศสุพรรณ
นิราศเมืองแกลง นิราศภูเขาทอง นิราศอิเหนา นิราศเจ้าฟ้าลิลิตพระลอ และลิลิตตะเลงพ่าย
        เป็นความสามารถเฉพาะตัวของกวีไทย ที่ได้พรรณาชื่อดอกไม้หลายชนิดไว้อย่างไพเราะ ทั้งลักษณะ สีสัน กลิ่น ทำให้ผ้อ่านเกิดมโนภาพ ประทับใจ เหมือนได้ไปอยู่
ณ ที่ด้วย  หวังว่าสิ่งที่เรียบเรียงมาคงจะเป็นประโยชน์และเกิดความประทับใจกับการพรรณาของกวีไทยบ้าง

ดอกกรรณิการ์



“…กรรณิการ์  ก้านสีแดงสด
คิดผ้าแสดติดขลิบนาง
เห็นเนื้อเรื่อโรงราง
ห่มสองบ่าอ่าโนเน่…”

วรรณคดี :  กาพย์ห่อโคลง  “นิราศธารโศก”
ผู้ประพันธ์ :  เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)
ชื่อพฤกษศาสตร์    :  Nyctanthes arbor – tristis
ชื่อสามัญ            :  Night Jasmine
ชื่อวงศ์               :  Verbenaceae

กรรณิการ์เป็นพุ่มไม้ขนาดเล็ก  สูงประมาณ ๑ - ๒ เมตร  ใบสากคาย  ขอบใบเป็นจักตื้น ๆ และใบออกทิศทางตรงข้ามกัน ดอกสีขาว  ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง  ลักษณะคล้ายดอกมะลิ  แต่มีขนาดกลีบแคบกว่า  ปลายกลีบมี ๒ แฉก  ขนาดไม่เท่ากัน  โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสีส้มสด  ดอกบานส่งกลิ่นหอมในเวลากลางคืน  และจะร่วงในเช้าวันรุ่งขึ้น ผลมีลักษณะกลมแบน  ขณะอ่อนมีสีเขียว  เมื่อแก่เป็นสีดำ การขยายพันธุ์ ใช้ตอนกิ่ง ทางด้านสมุนไพร  เปลือกให้น้ำฝาด  เปลือกชั้นในเมื่อผสมกับปูนขาวจะให้สีแดง  ดอกมีน้ำมันหอมระเหยที่กลั่นได้  เช่นเดียวกับมะลิ  ส่วนของดอกที่เป็นหลอด  สกัดเป็นสีย้อมผ้าไหม  ใบใช้แก้ไข้และโรคปวดตามข้อ  น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาระบาย  และเป็นยาขมเจริญอาหาร 
บุนนาค

“….พิกุลบุนนาคมากมี
ตามทางหว่างวิถีสีขาวสด
ชมพลางทางเร่งรีบรถ
เลียบตามบรรพตคีรี…”

วรรณคดี : “อิเหนา”  ตอนท้าวปันจะรากันไปในพิธีอภิเษกสังคามาระตา
ผู้ประพันธ์ :  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ชื่อพฤกษศาสตร์  :  Mesua  ferrea, L.
ชื่อสามัญ          :  Indian  Rose  Dhestnut, Iron  Weed
ชื่อวงศ์             :  Guttiferae
ชื่ออื่น ๆ            :  นาคบุตร

บุนนาคเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่  ทรงพุ่มยอดแหลม  ออกดอกในฤดูหนาว  ใบเป็นใบเดี่ยว  ออกสลับทิศทางกัน  มีลักษณะเป็นกระจุกใหญ่ตรงกลาง  บางต้นกลีบดอกออกสีชมพูเรื่อ ๆ เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาด ๕ - ๗.๕ เซนติเมตร  หลังจากดอกโรยจะติดเมล็ด การขยายพันธุ์  นิยมใช้วิธีตอนกิ่ง  หรือเพาะเมล็ด คุณค่าทางสมุนไพร  ใช้เกสรผสมยาหอมบำรุงหัวใจ  แก้ร้อนในกระหายน้ำ  แก้วิงเวียนเป็นยาชูกำลัง ฯลฯผกากรอง
“…มะลิวัลย์พันระกำขึ้นแกมจาก
ได้สามวันกรรมพรากไปจากห้อง
จำปีเคียงโศกระย้า  ผกากรอง
พี่โศกเศร้าเฝ้าตรองกว่าสองปี…”

วรรณคดี :  “ขุนช้างขุนแผน”
ผู้ประพันธ์ :  สุนทรภู่
ชื่อพฤกษศาสตร์  :  Lantana  camara, L.
ชื่อสามัญ          :  Cloth  of Gold,  Hedge  Flower,  Weeding  Lantana
ชื่อวงศ์             :  Verbenaceae
ชื่ออื่น ๆ            :  ก้ามกุ้ง  เบญจมาศป่า  ขะจาย  ขี้กา  คำขี้ไก่  เบ็งละมาศ  ไม้จีน

ผกากรองเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ ๒ - ๖ ฟุต  ขึ้นได้ในดินทุกชนิด  ชอบแล้งมากกว่าแฉะ  ชอบแสงแดดจัด  นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพื่อดูดอกเพราะผกากรองให้ดอกสวยและดกตลอดปี ใบเป็นรูปไข่  ริมใบหยักเป็นจัก  ใบคายสากมือ  มีกลิ่นเหม็น      ดอกมีขนาดเล็กออกเป็นกระจุก  ขนาดโตประมาณ ๑ - ๑.๕ นิ้ว  มีหลายสี  เช่น  เหลืองอ่อน  แดง  ขาว  ม่วง  ชมพู  เหลืองเข้ม การขยายพันธุ์  ใช้วิธีเพาะเมล็ด  หรือตัดกิ่งปักชำ สรรพคุณทางสมุนไพร  ใบตำพอกแผล  ฝีพุพอง  ใบต้มน้ำอุ่นอาบ  หรือแช่แก้โรคปวดข้อ


พิกุล

“…เสือมองย่องแอบต้นตาเสือ
ร่มหูกวางกวางเฝือฝูงกวางป่า
อ้อยช้างช้างน้าวเป็นราวมา
สาลิกาจับกิ่งพิกุลกิน…”

วรรณคดี : “ขุนช้างขุนแผน”
ผู้ประพันธ์ :  สุนทรภู่
ชื่อพฤกษศาสตร์  :  Mimusope  elengi, L.
ชื่อสามัญ          :  Bullet  Wood
ชื่อวงศ์             :  Sapotaceae

พิกุลเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง  กิ่งก้านค่อนข้างแจ้  แบน  คล้ายต้นหว้า  มีพุ่มใบแน่น  เหมาะสำหรับปลูกไว้บังแดดตอนบ่าย  ดอกมีกลิ่นหอม   ใบเป็นใบเดี่ยว  สีเขียวเข้ม  ปลายแหลมมน  มีขนาดใบกว้างประมาณ ๗ ซ.ม. ยาวประมาณ ๑๕ ซ.ม. เส้นกลางใบด้านท้องใบนูน  ก้านใบยาวประมาณ ๓ ซ.ม.    ดอกออกเป็นช่อ  เป็นกระจุก  ดอกมีขนาดเล็กกว้างประมาณ ๑ ซ.ม.  กลีบดอกเล็กแคบยาวเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มองดูริมดอกเป็นจักเล็ก    ผลกลมโตคล้ายละมุดสีดา  แต่เล็กกว่าเล็กน้อย  ผลสุกสีแดงแสด  ใช้รับประทานได้  รสฝาดหวานมัน การ      ขยายพันธุ์  ใช้เพาะเมล็ด หรือ ตอนกิ่ง ทางด้านสมุนไพร  เปลือกใช้ต้มเอาน้ำอมเป็นยากลั้วล้างปาก  แก้ปากเปื่อย  ปวดฟัน  ฟันโยกคลอน  เหงือกบวม  เป็นยาคุมธาตุ  ดอกแห้งใช้ป่นทำยานัตถุ์  แก้ไข้  ปวดศรีษะ  เจ็บคอ  แก้ปวดตามร่างกาย  แก้ร้อนใน  เมล็ดตำละเอียดปั้นเป็นยาเม็ดสวนทวารสุพรรณิการ์
“…เล็บนางงามแสล้ม
ต้นนางแย้มแกมดองดึง
สุพรรณิกากากระทึง
ดอกราชพฤกษ์ซึกไทรไตร…”

วรรณคดี : กาพย์ห่อโคลง “ นิราศธารทองแดง”
ผู้ประพันธ์ : เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์  “เจ้าฟ้ากุ้ง”
ชื่อพฤกษศาสตร์  :  Cochlospermum  religiosum
ชื่อสามัญ          :  Yellow  Slik-Cotton  Tree,  Butter-Cup  Tree
ชื่อวงศ์             :  Bixaceae

สุพรรณิการ์มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า  “ฝ้ายคำ”  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ ๓ -๗ เมตร  ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด  ชอบแสงแดดจัด  ออกดอกหลังจากใบร่วงหมดในราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ใบมีลักษณะมน  ขอบเว้าเป็น ๕ แฉก  กว้างประมาณ ๖ นิ้ว  ยาวประมาณ ๘ นิ้ว  ท้องใบมีขนอ่อน ดอกใหญ่มี ๕ กลีบ  สีเหลืองสด  กลีบดอกงุ้มเข้าหากันคล้ายถ้วย  ดอกมีขนาดกว้างประมาณ ๕ นิ้ว  กลางดอกมีเกสรตัวผู้มากมาย  เมื่อดอกโรยจะติดผล ผลมีลักษณะกลมรี  ภายในผลมีเมล็ดมีปุยคล้ายปุยฝ้าย การขยายพันธุ์  ใช้วิธีเพาะเมล็ด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น